ข่าวประชาสัมพันธ์

ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอริ้วรอยและลดความเข้มของสีผิวจากสารสกัดหมาก

31 พฤษภาคม 2565 ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอริ้วรอยและลดความเข้มของสีผิวจากสารสกัดหมาก

ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอริ้วรอยและลดความเข้มของสีผิวจากสารสกัดหมาก
Anti-aging and whitening cosmetic from raw betel nut (areca catechu linn.)

นางสาวปณาลี พงษ์แดง
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

                    ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ ความงาม ควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทำให้สารสกัดจากธรรมชาติได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความสวยความงามซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงกลุ่มของผู้หญิงเท่านั้นแต่ในผู้ชายเองก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นเช่นกัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ และความมั่นใจกับตัวเอง ส่งผลให้ตลาดเครื่องสำอางในปัจจุบันขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีความหลากหลายทั้งเรื่องชนิด คุณสมบัติ คุณภาพ และราคา ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
               หมาก (Areca catechu Linn.) เป็นไม้ยืนต้นตระกูลปาล์มที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย โดยเฉพาะแถบภาคใต้และภาคกลาง ซึ่งในสมัยโบราณนิยมนำมาเคี้ยวกับใบพลู แต่ในปัจจุบันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ จากการวิจัยสารสำคัญในผลหมาก พบว่ามีปริมาณสารในกลุ่มฟีนอลิก (Phenolic compound) และสารกลุ่มคอนเดนส์แทนนิน (Condensed tannins) ในปริมาณสูง ทำให้สารสกัด            จากหมากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  (Antioxidant) ที่ดีและยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ข้อมูลทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดจากหมากมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ S. aureus, S. epidermidis, P. acnes ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคสิวหนอง จึงมีศักยภาพสูงสำหรับนำมาใช้เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและความงาม
                    จากคุณสมบัติดังกล่าว บริษัท มาเจสติค ลีฟวิ่ง จำกัด จึงร่วมกับทีมวิจัยของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอริ้วรอย และลดความเข้มของสีผิวจากสารสกัดหมาก โดยการพัฒนาความคงตัวของสารสกัดเมล็ดหมากดิบด้วยเทคโนโลยีการเร่งอุณหภูมิและอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ ทำให้เจือจางด้วยการเติมน้ำที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงกว่าผสมกับสีชนิดที่ละลายน้ำร่วมกับการสกัดสารโดยใช้คลื่นไมโครเวฟเพื่อกักเก็บสารสกัดหมากก่อนผสมลงในเวชสำอาง ช่วยให้สารสกัดซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นหนังแท้ซึ่งมีองค์ประกอบของคอลลาเจนที่เป็นโปรตีนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับผิว และเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ช่วยป้องกันรอยเหี่ยวย่น ริ้วรอยร่องลึกต่างๆ ด้วยกระบวนการผลิตดังกล่าวปราศจากการใช้ซิลิโคนและสารสังเคราะห์อื่นๆ อีกทั้ง มีสภาวะความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมกับผิว จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพชะลอความชราและลดความเข้มของสีผิวได้

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
                     โครงการดังกล่าว ช่วยลดค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการนำเข้าวัตถุดิบ Hydrolyzed collagen จากต่างประเทศ อีกทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและใช้วัตถุดิบหลักและเทคโนโลยีของคนไทย รวมถึงช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประเทศ โดยสินค้ามีการวางจำหน่ายภายในประเทศ และมียอดขายกว่า 6,000 ซอง ใน 2 เดือนแรกที่เริ่มจำหน่าย
ผลกระทบทางด้านสังคม
                  เพิ่มทางเลือกและการเข้าถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ผ่านกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลข้างเคียงจากการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ และยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรผู้ปลูกหมากอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอริ้วรอยและลดความเข้มของสีผิวจากสารสกัดหมาก ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการนวัตกรรมแบบเปิดด้านเศรษฐกิจ ด้านเศรษฐกิจ
ภูมิภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล

ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม: บริษัท มาเจสติค ลีฟวิ่ง จำกัด
ที่อยู่: 711 ซ.เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
เบอร์ติดต่อ: 089 188 4448
อีเมล: manavee@madeenagf.com


 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

iStock : ระบบการจัดการคลังสินค้าอย่างชาญฉลาด

iStock : ระบบการจัดการคลังสินค้าอย่างชาญฉลาด

พราว….บรรจุภัณฑ์หัวจ่ายตวงได้

พราว….บรรจุภัณฑ์หัวจ่ายตวงได้

NIA และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้าหารือร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี

NIA และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้าหารือร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่...

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
องค์กรหลักในการเสริมสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อเพิ่มคุณค่าที่ยั่งยืน

ที่อยู่: 73/2 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

Copyright © National Innovation Agency (NIA) 2019 All rights reserved.