ข่าวประชาสัมพันธ์

โซระ: อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสํารวจและติดตามการเจริญเติบโตของพืช

1 เมษายน 2565 โซระ: อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสํารวจและติดตามการเจริญเติบโตของพืช

โซระ: อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสํารวจและติดตาม
การเจริญเติบโตของพืช

High Performance Unmanned Aerial Vehicle for Agriculture

นางสาวสุภาพร คณะพรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

               อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในทางการเกษตรส่วนใหญ่จะเน้นการถ่ายภาพทางอากาศ ทั้งเพื่อความสวยงามและการนำไปประมวลผลต่อ เช่น นำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนใช้ประโยชน์ที่ดิน นำภาพแปลงพืชผลที่ปลูกมาประเมินความเสียหาย ประเมินผลผลิตจากภาพถ่ายที่ได้ผนวกกับข้อมูลเชิงแผนที่ที่มีอยู่เบื้องต้นและยังสามารถต่อยอดไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งมีข้อได้เปรียบกว่าภาพถ่ายดาวเทียม คือ สามารถถ่ายได้เองตลอดเวลาที่ต้องการ ในขณะที่ภาพถ่ายดาวเทียมจะต้องใช้เวลานาน เนื่องจากต้องมีการสั่งซื้อข้อมูลจากดาวเทียม ซึ่งอาจจะใช้เวลา 1 – 3 วัน และมีค่าใช้จ่ายสูง
               ในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมากยิ่งขึ้น เช่น พ่นปุ๋ยและธาตุอาหารเสริม การวางแผนและถ่ายภาพแปลงเพาะปลูกเพื่อสังเกตการเจริญเติบโตและอาการผิดปกติของพืช แต่พบปัญหาว่าเทคโนโลยีเดิมสามารถทำงานได้เพียงไม่เกินหนึ่งชั่วโมงต่อเที่ยวบิน จะต้องกลับมาเติมพลังงานใหม่อีกครั้ง ทำให้เสียเวลาและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
            
บริษัท สมาร์ทติ๊งคอนโทล จำกัด จึงมีแนวทางการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการสำรวจและติดตามการเจริญเติบโตของพืช โดยการออกแบบทางวิศวกรรมของโครงสร้างลำตัวเครื่องเทคโนโลยีการใช้พลังงานประสิทธิภาพสูงทำงานต่อเนื่องได้มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อเที่ยวบิน ระบบสื่อสารและอุปกรณ์ทวนสัญญาณสมรรถนะสูงติดตั้งในตัว ระบบป้องกันการทำงาน ระบบป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากละอองน้ำหรือละอองฝนได้ สามารถบริหารจัดการการสำรวจได้ง่าย ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้องและแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ดิน น้ำ พืชพรรณ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์สถานการณ์การเจริญเติบโต ความสมบูรณ์ของพืช โรคพืช ก่อนและหลัง สามารถนำมาใช้ในการศึกษาพืช โดยอาศัยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลด้วยกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงร่วมกับการใช้เทคนิคของเครื่องมือวัดประเภท Spectrometer หรือ High resolution Technology และ Hyperspectral technology ซึ่งให้ความถูกต้องในการจำแนกสูงมีระบบสารสนเทศทางการเกษตรวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของพืชได้จากอัตราการสังเคราะห์แสงซึ่งเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้จากภาพถ่ายกล้อง Multispectral สามารถประมาณสัดส่วนของพืชที่ปกคลุมพื้นผิวได้จากการนำช่วงคลื่นมาคำนวณหาดัชนีพืช ซึ่งการเก็บข้อมูลภาคสนามนั้นสิ้นเปลืองงบประมาณป็นอย่างมาก และบางครั้งข้อมูลที่ได้จะไม่ครบถ้วน เนื่องจากบางพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินสำรวจ อีกทั้งเทคโนโลยี Remote Sensing นั้น ยังสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากและระยะไกลได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดการใช้แรงงานในการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการปลูกพืชและมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อีกด้วย
.

 

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
               โครงการดังกล่าว ก่อให้เกิดโอกาสและการสร้างอาชีพให้กับเกษตรกว่า 20 ชุมชน ผ่านโครงการศูนย์การเรียนรู้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรที่บริษัทร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ผลิตนักบินอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนเพื่อการเกษตรที่มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีรายได้กว่า 7 ล้านบาท
ผลกระทบทางด้านสังคม
               ช่วยลดเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช/ แมลงศัตรูพืช และพ่นฮอร์โมนพืช เมื่อเทียบกับการฉีดพ่น โดยใช้แรงงานคนได้ถึง 3 - 5 เท่า และลดปริมาณการใช้สารเคมีฉีดพ่นลงร้อยละ 25 นอกจากนี้ การใช้โดรนยังช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากการเหยียบย่ำพืชในระหว่างฉีดพ่น และลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาสุขภาพจากการสัมผัสหรือสูดดมสารเคมี

โซระ: อากาศยานไร้คนขับเพื่อการสํารวจและติดตามการเจริญเติบโต
ของพืช ได้รับการสนับสนุนภายใต้
โครงการนวัตกรรมแบบเปิดด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม: บริษัท สมาร์ทติ๊งคอนโทล จำกัด
ที่อยู่ เลขที่ 140 หมู่ที่ 4 ต าบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34000
Website:
www.thaiagritech.com
Email: montribox@gmail.com
เบอร์ติดต่อ 084-115-5940

 

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ที่มีปริมาณสารแมงจิเฟอรินสูง

ไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ที่มีปริมาณสารแมงจิเฟอรินสูง

เครื่องคัดลำไยอบแห้งแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของลำไยอบแห้ง

เครื่องคัดลำไยอบแห้งแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของลำไยอบแห้ง

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
องค์กรหลักในการเสริมสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อเพิ่มคุณค่าที่ยั่งยืน

ที่อยู่: 73/2 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

Copyright © National Innovation Agency (NIA) 2019 All rights reserved.